วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

กางและรื้อเต็นท์ที่พักแรม

กางและรื้อเต็นท์ที่พักแรม


 การกางเต็นท์
การไปอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ   แต่ก่อนนั้นลูกเสือไปหาที่พักข้างหน้าตามแต่
จะดัดแปลงได้  ในภูมิประเทศซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า  ถ้าลูกเสือไม่พักในอาคารหรือโรงเรียน  ลูกเสือจะต้องนอนกลางแจ้ง ซึ่งจะต้องหาวิธีสร้างเพิงที่พักง่ายๆที่สามารถกันแดดกันฝนกันลมและป้องกันสัตว์เลื้อยคลานได้   โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆเท่าที่จะหาได้ ต่อมาเริ่มมีการเตรียมอุปกรณ์ไปด้วย เช่น  เชือกหลายๆเส้น  พลาสติกผืนใหญ่  เป็นต้น ทำให้ง่ายต่อการสร้างเพิงที่พักมากขึ้น
                ปัจจุบันลูกเสือส่วนมากจะเตรียมเต็นท์สำเร็จไปด้วย  เพราะเต็นท์มีขายอย่างแพร่หลาย และมีให้เลือกหลายแบบหลายสีหลายขนาด  มีน้ำหนักเบา  มีขนาดกะทัดรัด  สามารถนำพาได้สะดวก


เต็นท์ที่นิยมนำไปอยู่ค่ายพักแรม  มีดังนี้

1. เต็นท์อำนวยการ มีขนาดใหญ่ใช้เป็นที่ประชุมนายหมู่หรือผู้กำกับได้
2. เต็นท์หมู่ใช้สำหรับเป็นที่พักสำหรับลูกเสือทั้งหมู่ ( 1 หมู่  )
3. เต็นท์บุคคล (สำหรับลูกเสือ 1-  2  คน )

การวางผังในการกางเต็นท์
        การตั้งเต็นท์ของลูกเสือนั้นตามปกติแล้วจะไม่ตั้งเป็นแถวยาวเหมือนกับ   การตั้งเต็นท์แบบค่ายทหาร  แต่จะตั้งเป็นหย่อมๆตามหมู่  โดยแต่ละหมู่ห่างกันประมาณ  6  เมตร  หรือมากกว่านั้น  และเต็นท์ทั้งหมดที่ตั้งจะอยู่รอบๆเต็นท์ผู้กำกับลูกเสือเป็นรูปวงกลมใหญ่      ซึ่งโดยปกติแล้วเต็นท์ผู้กำกับลูกเสือจะตั้งเป็นศูนย์กลางพร้อมด้วยเสาธง และที่แสดงรอบกองไฟเสมอ


เทคนิค วิธีกางเต็นท์ สำหรับมือใหม่



วิธีกางเต็นท์ : 1  ทำความสะอาด เคลียร์พื้นที่
กำจัดเศษกิ่งไม้ ก้อนหิน หรือของแข็ง ที่อยู่บริเวณกางเต็นท์ออกให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้ของแหลมคมแทงพื้นเต็นท์ ทำให้พื้นเต็นท์ชำรุดได้ง่ายและน้ำอาจซึมเข้าเวลาฝนตก


คำเตือน อย่ารองพื้นเต็นท์โดยแผ่นรองพื้น (Ground sheet) ในช่วงหน้าฝน เพราะแผ่นรองพื้นมีคุณสมบัติกันน้ำ เหมือนฟรายชีท ทำให้แผ่นรองพื้นเก็บกักน้ำเป็นอย่างดี เมื่อกางเต็นท์บนแผ่นรองพื้นจึงเสมือนกางเต็นท์บนน้ำ  ทำให้น้ำซึมเข้าเต็นท์ได้ง่ายกว่าการกางเต็นท์บนพื้นหญ้าหรือพื้นดิน ควรรองภายในเต็นท์จะดีกว่าเพื่อการป้องกันอีกชั้นหนึ่ง และเพื่อความแห้งสบายเวลานอน
สำหรับหน้าร้อนหรือฝนไม่ตก สามารถที่จะรองพื้นเต็นท์ด้วยผ้ารองพื้น (Ground sheet) ได้เลย หน้าหนาวก็เช่นเดียวกัน แต่ต้องพับขอบแผ่นรองพื้นไม่ให้โผล่ออกมากจากตัวเต็นท์ทั้งสี่ด้าน เพื่อกันละอองหมอกที่ตกลงมารวมตัวกันเป็นหยดน้ำ จะทำให้พื้นเต็นท์แฉะเหมือนกับกรณีในหน้าฝน
ข้อควรระวัง : เวลากางไม่ควรลากเต็นท์ เพราะพื้นเสมือนเป็นกระดาษทรายชั้นดี ที่จะทำให้พื้นเต็นท์ชำรุดได้ง่าย ควรใช้วิธียกเต็นท์จะดีกว่า โดยก่อนยก ให้นำสิ่งของที่หนักออกจากเต็นท์ก่อน เพื่อป้องกันเต็นท์ขาดได้ง่าย
วิธีกางเต็นท์ :2   ต่อเสาเต็นท์ ทั้งสองเส้น แล้วเสียบแบบทะแยง

วิธีกางเต็นท์ :3  ดันเสาขึ้น





ดันเสาขึ้นเต็นท์ แล้วเสียบกับตัวเสียบที่ติดมาพร้อมกับมุมทั้ง 4 ของเต็นท์ ที่ละข้างและที่ละเส้น (เมื่อกางเต็นท์คนเดียว) หรือทำทั้งสองข้างพร้อมกัน (กรณี กางเต็นท์ 2 คน)  เต็นท์จะตึงเป็นรูปโดมทันที

วิธีกางเต็นท์ :4 ยึดเต็นท์ให้แข็งแร




เทคนิค วิธีกางเต็นท์ สำหรับมือใหม่

ตรงยอดเต็นท์จะมีเชือกหรือตัวเกี่ยว นำไปผูกหรือเกี่ยวกับเสาเต็นท์ที่ตัดกันตรงยอด เพื่อให้เต็นท์ตึง และนำตัวเกี่ยวที่เหลือตรงเหลี่ยมเต็นท์เกี่ยวยึดกับเสาเต็นท์ให้หมด เพื่อให้เต็นท์แข็งแรงขึ้น

วิธีกางเต็นท์ :5 จัดการฟลายชีท (ผ้าคลุมเต็นท์)


เทคนิค วิธีกางเต็นท์

นำเสาฟลายชีท (ผ้าคลุมเต็นท์) ที่มาพร้อมกับเสาเต็นท์ (เสาสั้น) นำมาต่อกันแล้วนำไปเสียบในช่องที่เย็บติดกับฟลายชีท (ดังรูป) ทั้งสองเส้น แล้วนำเชือกที่เย็บติดกับฟลายชีทตรงกึ่งกลางผูกติดกับเสาฟลายชีท ตรงที่ตัดกัน  ตรงตะเข็บฟลายชีท (ตามแนวเสาฟลายชีท) จะมีตีนตุ๊กแกหรือเมจิกเทปอยู่ให้แกะออก แล้วนำไปยึดติดกับเสาฟลายชีท เพื่อยึดเสากับฟลายชีทเป็นชิ้นเดียวกัน

วิธีกางเต็นท์ : 6 ยึดฟลายชีทเข้ากับหลังคาเต็นท์



นำชุดฟลายชีทไปคล่อมหรือปิดหลังคาเต็นท์ โดยเอาปลายเสาฟลายชีทไว้ตรงกับประตูเต็นท์ ทำการยึดด้วยตัวเกี่ยวที่ติดมากับมุมทั้ง 4 ของฟลายชีท ยึดเข้ากับห่วงตรงมุมทั้ง 4 ของตัวเต็นท์ แล้วยึดเมจิกเทปหรือตีนตุ๊กแกตรงมุมตะเข็บของฟลายชีทเข้ากับตัวเต็นท์ เพื่อให้ฟลายชีทมั่นคง แข็งแรงขึ้น

วิธีกางเต็นท์ : 7 ใช้สมอช่วยยึด กันลมกระโชก




เทคนิค วิธีกางเต็นท์

นำสมอไปยึดกับมุมทั้ง 4 ของตัวเต็นท์ เพื่อกันลมกระโชก ช่วยให้เต็นท์มั่นคงและอยู่ตัว  นำเชือกไปผูกกับปลายฟลายชีทตรงกลางระหว่างเต็นท์ด้านหน้าต่างและตรงตะเข็บด้านนอก ดึงให้ตึงยึดด้วยสมอบก  เพื่อไม่ให้ฟลายชีทติดกับตัวเต็นท์ เว้นช่องว่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก **วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้ช่วงฤดูฝน

มาช่วยกันกางเต็นทืกันเถอะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น